รัฐบาล สปป. ลาวเน้น 7 งานสำคัญเพื่อพัฒนา MSMEs ให้มีคุณภาพ
วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดย่อย (MSMEs) มีบทบาทสำคัญในการสร้างงานและการพัฒนาเศรษฐกิจ
โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2564 -2568) เน้นการพัฒนา MSMEs ให้มีคุณภาพ มีความเข้มแข็ง
และสามารถแข่งขันกับต่างประเทศ ท่ามกลางสถานการณ์โควิด 19 รัฐบาล สปป. ลาว ได้กำหนด 7 นโยบาย
ในแผนพัฒนา MSMEs ดังนี้
1. ส่งเสริมธุรกิจใหม่ (Start up) โดยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยปรับปรุงระบบคมนาคมและ อินเทอร์เน็ต
ให้มีคุณภาพในอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อ การส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่
พร้อมกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการ ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน สร้างโอกาส
ในการเข้าถึงการบริการ เสริมสร้างประสิทธิภาพของศูนย์บริการ SMEs ส่งเสริมธุรกิจที่ก่อตั้งใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี
ข้อมูลข่าวสารในการบริหารธุรกิจ ธุรกิจผลิตสินค้าหัตถกรรม อาหาร เครื่องดื่ม อุปกรณ์ รวมทั้งการผลิตสินค้าหนึ่งเมือง
หนึ่งผลิตภัณฑ์ (ODOP) แบบใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สีเขียว ยั่งยืน และได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด
ภายในประเทศและต่างประเทศ
2. ยกระดับการบริหารธุรกิจ การเข้าถึงตลาด แหล่งทุน เทคนิค นวัตกรรม และเทคโนโลยี รวมถึงบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า
เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าและความสามารถในการแข่งขัน โดยเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ ให้ผู้ประกอบการและผู้ที่มีแนวคิด
ริเริ่มในการดำเนินธุรกิจให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนจากสถาบันการเงินต่าง ๆ อย่างสะดวก และลดความเสี่ยงจากแหล่งทุนนอกระบบ
ปรับปรุงกลไกและขั้นตอนการเข้าถึงสินเชื่อของ MSMEs เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่มีศักยภาพ รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน
ผลิตภัณฑ์ของสถาบันการเงิน คุณภาพของระบบการบริหารของสถาบันการเงินให้เข้มแข็ง เพื่อให้ธุรกิจ SMEs เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่
การผลิตและตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับความสามารถในการผลิตและการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่
3. สานต่อการหาแหล่งทุนที่มีต้นทุนต่ำทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มช่องทางด้านแหล่งทุนให้กับ MSMEs ที่มีศักยภาพ
ด้านการผลิตและส่งออก พร้อมทั้งยกระดับความรู้ทางวิชาการให้กับบุคลากรให้มี ความชำนาญและทำงานเป็นระบบ
4. ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยกำหนดนโยบาย ให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสม
5. ส่งเสริมธุรกิจแบบทั่วถึง (Inclusive Business) โดยออกนโยบายเฉพาะเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยง ด้านห่วงโซ่การผลิตระหว่าง
บริษัทขนาดใหญ่กับ MSMEs เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจทั้งสองให้เข้า เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิต
6. ส่งเสริมให้บริษัทขนาดใหญ่และ MSMEs สร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน เพื่อปรับปรุงคุณภาพ การผลิตของประชาชน
ให้เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิต
7. ส่งเสริม MSMEs และภาคธุรกิจที่ลงทุนในภาคเกษตร อาหาร และยาให้สามารถเข้าถึงตลาดใหม่ ห้องทดลอง (Laboratory)
การตรวจสอบสารเคมีตกค้าง (ดึงดูดการลงทุนในห้องทดลองและการตรวจสอบสินค้าเกษตร) ผ่านการสมทบทุนเพื่อส่งเสริมธุรกิจ
(Business Assistance Facility: BAF) ให้สามารถเข้าถึงเทคนิค การผลิต แหล่งทุน เครือข่ายการผลิตสากล
การกำหนดนโยบายข้างต้นจะช่วยให้ สปป. ลาวบรรลุตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ที่เกี่ยวข้อง และทำให้ตัวชี้วัด
การเริ่มต้นธุรกิจใน สปป. ลาวลดอันดับลงมาต่ำกว่า 120 ในปี 2568 ในขณะที่ตั้งเป้าจำนวนผู้ประกอบการ MSMEs รายใหม่เพื่อขึ้นร้อยละ 2 ต่อปี
รายได้ของ MSMEs คิดเป็น ร้อยละ 18 ของ GDP ต่อปี ภาคธุรกิจได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น ODOP 20 รายต่อปี MSMEs ได้รับรางวัลธุรกิจดีเด่น
อย่างน้อย 5 รายต่อปี และตลาดทันสมัย ได้แก่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ขยายตัว อย่างน้อย 18 แห่งภายในปี 2568
ที่มา: นสพ. ประชาชน วันที่ 21 เม.ย. 2564
04/30/2021