ธุรกิจไทยที่มีศักยภาพ

สปป. ลาวส่งเสริมการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อส่งออก

ดร. สีนาวา สุพานุวง รองรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ สปป. ลาว กล่าวว่า สปป. ลาวมีศักยภาพ ในการผลิตไฟฟ้า
พลังแสงอาทิตย์ ซึ่งมีกำลังการผลิตตั้งแต่ 10,000 - 15,000 เมกะวัตต์ ในขณะที่พลังงานลมอาจสูง ถึง 100,000 เมกะวัตต์
โดยกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เท่ากับครึ่งหนึ่งของศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำของ สปป. ลาว
ซึ่งคาดว่าจะสูงถึง 30,000 เมกะวัตต์ การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่หลากหลายจะช่วยให้ สปป. ลาวไม่ต้องนำเข้า
ไฟฟ้าจากไทยในฤดูแล้ง

การพัฒนาแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำ (Floating Solar) มีความสำคัญเนื่องจากการสร้าง โรงผลิตไฟฟ้า
พลังงานแสงอาทิตย์บนอ่างเก็บน้ำของเขื่อนจะช่วยประหยัดพื้นที่และไม่จำเป็นต้องสร้างสายส่งไฟฟ้าและสิ่งอำนวยความสะดวก
อื่น ๆ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตสำหรับนักลงทุน ปัจจุบันรัฐบาล สปป. ลาวได้อนุญาต ให้นักลงทุนก่อสร้างโครงการพลังงาน
แสงอาทิตย์แล้วจำนวนหนึ่ง และบางโครงการอยู่ระหว่างทำการศึกษา ความเป็นไปได้ เมื่อเดือน ก.ค. 2564 รัฐบาล สปป. ลาว
และ Electricité De France (EDF) ได้ลงนามสัญญาว่าด้วย การพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานบนอ่างเก็บน้ำ
ของเขื่อนไฟฟ้าน้ำเทิน 2 แขวงคำม่วน (Power Development Agreement : PDA) มีกำลังการผลิตติดตั้ง 240 เมกะวัตต์ โดยผู้พัฒนา
โครงการฯ คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างในปี 2565 และผลิตไฟฟ้าในปี 2567 นอกจากนี้ เมื่อเดือน ก.พ. 2563 รัฐบาล สปป. ลาว และ
บริษัท Hangzhou Safefound Technology จำกัด ของจีนได้ลงนาม PDA ว่าด้วยการพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์บนอ่างเก็บน้ำ
ของเขื่อนน้ำงึม 1 ในเขตพื้นที่บ้านโพนสะหวาด เมืองล่องซาน แขวงไซสมบูน มีกำลัง การผลิตติดตั้ง 1,200 เมกะวัตต์

ด้านพลังงานลม บริษัทในเครือของ มิตซูบิชิ คอร์เปอเรชั่น ได้ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม ขนาด 600 เมกะวัตต์ ในแขวงเซกอง
และอัดตะปือ ผ่านบริษัท Impact Energy Asia Development จำกัด (IEAD) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
เพื่อขายไฟฟ้าให้กับเวียดนาม ซึ่งนับว่าเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานลมแห่งแรกของ สปป. ลาว และเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุด
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคาดว่าโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะเริ่มก่อสร้างในปี 2565 และผลิตไฟฟ้าในปี 2568

การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักของ สปป. ลาว และมีการขายไฟฟ้าจำนวนมากให้กับประเทศเพื่อนบ้าน จนถึง
ปัจจุบัน สปป. ลาวใช้ศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำไปประมาณหนึ่งในสาม หากการพัฒนาแหล่งพลังงานข้างต้นดำเนินไปอย่างราบรื่น
และเหมาะสม อาจทำให้ สปป. ลาวบรรลุเป้าหมายในการเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย รวมทั้งช่วยลดปัญหาความยากจนและกระตุ้นการเติบโต
ทางเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา: นสพ. Vientiane Times วันที่ 22 ต.ค. 2564

ข้อมูลเพิ่มเติม

1. โครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานบนอ่างเก็บน้ำของเขื่อนไฟฟ้าน้ำเทิน 2 เป็นการร่วมทุนระหว่าง EDF ของฝรั่งเศส
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ของไทย และรัฐวิสาหกิจถือหุ้นลาว บนเนื้อที่ 3.2 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพการผลิต
ไฟฟ้าของเขื่อนไฟฟ้าน้ำเทิน 2 ร้อยละ 6

2. IEAD เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท อิมแพค วินด์ อินเวสเม้นท์ จำกัด กับบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) โดยถือหุ้นร้อยละ 55
และ 45 ตามลำดับ บริษัท อิมแพค วินด์ อินเวสเม้นท์ จำกัด มีผู้ถือหุ้น 2 บริษัท คือ บริษัท Diamond Generating Asia จำกัด ซึ่งเป็น
บริษัทในเครือของมิตซูบิชิ คอร์เปอเรชั่น ของญี่ปุ่นถือหุ้นร้อยละ 43 และบริษัท ในเครือของบริษัท Impact Electrons Siam จำกัด (IES)
ของไทยถือหุ้นร้อยละ 57

10/29/2021



กลับหน้าหลัก