ธุรกิจไทยที่มีศักยภาพ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าของ สปป. ลาว

ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าของ สปป.ลาว ปี 2564-2573 ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัยสามัญ
ครั้งที่ 2 ของสภาแห่งชาติชุดที่ 9 ประกอบด้วยนโยบาย 10 ประการ ได้แก่ นโยบายด้านน้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซ ถ่านหิน
พลังงานทดแทน การพัฒนาแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า การพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้า การพัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้า
ความมั่นคงด้านพลังงาน การพัฒนาตลาดพลังงาน ราคาไฟฟ้า และการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน

มติดังกล่าวได้รับรองการคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าจนถึงปี 2573 โดยความต้องการพลังงานต่ำสุด อยู่ที่ 13,820 ล้าน
กิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี และความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 20,415 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8.2 ต่อปี และความต้องการกำลังไฟฟ้าต่ำสุดอยู่ที่ 2,343 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.1 ต่อปี
และความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 3,188 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.5 ต่อปี และการรับรองยุทธศาสตร์
การพัฒนาแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าของ สปป.ลาว เพื่อสนองความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในประเทศ โดยมี
อัตราส่วนคือ ไฟฟ้าพลังน้ำ ร้อยละ 75 ถ่านหิน ร้อยละ 14 และพลังงานทดแทน ร้อยละ 11

นอกจากนี้ ยังได้รับรองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้า ประกอบด้วยการขยายระบบสายส่งไฟฟ้าแห่งชาติ
500 กิโลโวลต์ ให้เชื่อมต่อถึงกันจากภาคเหนือถึงภาคใต้ความยาว 957 กิโลเมตร หรือ 1,914 กิโลเมตร ต่อวงจร
การขยายระบบสายส่งไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ให้ครบคลุมแขวงและเขตอุตสาหกรรมความยาว 920 กิโลเมตร หรือ
1,864 กิโลเมตรต่อวงจร และการขยายระบบสายส่งไฟฟ้าขนาด 115 กิโลโวลต์ให้ครอบคลุมเมืองและเชื่อมต่อกับ
ประเทศเพื่อนบ้านความยาว 1,325.7 กิโลเมตร หรือ 1,860 กิโลเมตรต่อวงจร

ที่มา: เว็บไซต์ นสพ. เวียงจันทน์ใหม่ วันที่ 2 ก.พ. 2565
http://www.pasaxon.org.la/pdfs/268002-02-2022_compressed.pdf

02/11/2022



กลับหน้าหลัก