ธุรกิจไทยที่มีศักยภาพ

หุ้นส่วน

เมื่อผู้ลงทุนตกลงที่จะจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นใน สปป. ลาว สำหรับธุรกิจของตนแล้ว การพิจารณารูปแบบ วิสาหกิจให้เหมาะสมกับธุรกิจนั้น ๆ เป็นปราการอีกด่านหนึ่งที่ผู้ลงทุนจะต้องตัดสินใจให้รอบคอบ เนื่องจากการ เลือกรูปแบบวิสาหกิจเรียกได้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญหนึ่งในการดำเนินกิจการ ตลอดจนการวางแผนขยับขยายธุรกิจ ในอนาคตดังที่ได้เกริ่นมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้ โดยรูปแบบวิสาหกิจหลักๆ มีอยู่ 5 ประเภท ได้แก่ วิสาหกิจหุ้น ส่วนสามัญ วิสาหกิจหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดผู้เดียว บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชน ซึ่งประเภทของ วิสาหกิจ แต่ละประเภทก็มีข้อได้เปรียบแตกต่างกันไป อาจเหมาะสมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจที่จะลงทุน โดย บทความในตอนนี้ จะกล่าวเฉพาะรายละเอียดของวิสาหกิจประเภทวิสาหกิจหุ้นส่วน

"วิสาหกิจหุ้นส่วน" เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยวิสาหกิจ ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างหุ้น ส่วน หรือที่เรียกในภาษาท้องถิ่นว่า “ขาหุ้น” ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ เพื่อนำ ทุนมาลงร่วมกันและมีการแบ่งปันผลกำไรขาดทุนร่วมกัน โดยทุนดังกล่าวอาจเป็นเงิน และ/หรือ วัตถุหรือแรงงาน ที่นำมาตีมูลค่าเป็นเงินก็ได้ อนึ่ง ในการจัดตั้งวิสาหกิจหุ้นส่วนนั้น จะต้องมีการทำสัญญาจัดตั้งและจัดทำกฎระเบียบ ของวิสาหกิจหุ้นส่วนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร และนำไปยื่นคำร้องขึ้นทะเบียนวิสาหกิจให้เรียบร้อย

ทั้งนี้ วิสาหกิจหุ้นส่วนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วิสาหกิจหุ้นส่วนสามัญ และวิสาหกิจหุ้นส่วน จำกัด โดย “วิสาหกิจหุ้นส่วนสามัญ” เป็นวิสาหกิจหุ้นส่วนซึ่งหุ้นส่วนทุกรายร่วมกันดำเนินธุรกิจและร่วมกันรับผิด ชอบต่อหนี้สินทุกประการของวิสาหกิจนั้นอย่างไม่มีข้อจำกัดในการรับผิด โดยหลักการแล้ว เนื่องจากเป็นกิจการที่ มิได้จำกัดความรับผิดของหุ้นส่วน การตัดสินใจร่วมกันของหุ้นส่วนทุกคนเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนวิสาหกิจ ประเภทนี้ นอกจากนี้แล้ว ผู้ลงทุนที่เลือกประเภทของวิสาหกิจนี้พึงตระหนักว่า ตนในฐานะหุ้นส่วนจะไม่สามารถ ประกอบธุรกิจเหมือนหรือคล้ายกับธุรกิจของวิสาหกิจไม่ว่าจะในนามตนเอง หรือในนามบุคคลอื่น ตลอดจนไม่ สามารถเข้าเป็นหุ้นส่วนในวิสาหกิจหุ้นส่วนสามัญ หรือหุ้นส่วนทั่วไปของวิสาหกิจหุ้นส่วนจำกัดในธุรกิจที่เป็น การแข่งขันกับธุรกิจของวิสาหกิจนี้

ทั้งนี้ วิสาหกิจหุ้นส่วนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วิสาหกิจหุ้นส่วนสามัญ และวิสาหกิจหุ้นส่วน จำกัด โดย "วิสาหกิจหุ้นส่วนสามัญ" เป็นวิสาหกิจหุ้นส่วนซึ่งหุ้นส่วนทุกรายร่วมกันดำเนินธุรกิจและร่วมกันรับผิด ชอบต่อหนี้สินทุกประการของวิสาหกิจนั้นอย่างไม่มีข้อจำกัดในการรับผิด โดยหลักการแล้ว เนื่องจากเป็นกิจการที่ มิได้จำกัดความรับผิดของหุ้นส่วน การตัดสินใจร่วมกันของหุ้นส่วนทุกคนเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนวิสาหกิจ ประเภทนี้ นอกจากนี้แล้ว ผู้ลงทุนที่เลือกประเภทของวิสาหกิจนี้พึงตระหนักว่า ตนในฐานะหุ้นส่วนจะไม่สามารถ ประกอบธุรกิจเหมือนหรือคล้ายกับธุรกิจของวิสาหกิจไม่ว่าจะในนามตนเอง หรือในนามบุคคลอื่น ตลอดจนไม่ สามารถเข้าเป็นหุ้นส่วนในวิสาหกิจหุ้นส่วนสามัญ หรือหุ้นส่วนทั่วไปของวิสาหกิจหุ้นส่วนจำกัดในธุรกิจที่เป็น การแข่งขันกับธุรกิจของวิสาหกิจนี้

ส่วนหุ้นส่วนจำกัดหนี้สิน เป็นหุ้นส่วนที่มีความรับผิดชอบต่อหนี้สินของวิสาหกิจอย่างจำกัด คือ เท่าที่ มูลค่าหุ้นที่ตนได้ลงไป และมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่หมด (ถ้ามี) เท่านั้น โดยทุนที่ลงจะต้องเป็นเงิน หรือวัตถุเท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นแรงงานเหมือนหุ้นส่วนทั่วไปได้ เนื่องจากความรับผิดของหุ้นส่วนประเภทนี้มีอยู่อย่างจำกัด กฎหมายจึงวางหลักการในเบื้องต้นว่า หุ้นส่วนจำกัดหนี้สินไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการ รวมถึงไม่สามารถใช้ชื่อตนเป็น ชื่อวิสาหกิจหุ้นส่วนจำกัดได้ แต่หุ้นส่วนในวิสาหกิจก็อาจตกลงกันยกเว้นข้อจำกัดดังกล่าวได้ และเนื่องมาจาก หลักการที่หุ้นส่วนจำกัดอยู่ภายใต้ข้อห้ามตามที่ยกตัวอย่างไว้ข้างต้น หุ้นส่วนจำกัดจึงไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามในการ ประกอบกิจการที่เหมือน หรือคล้ายคลึงกับธุรกิจของวิสาหกิจของหุ้นส่วนประเภทนี้ ดังที่หุ้นส่วนทั่วไปถูกห้ามไว้

จะเห็นได้ว่าวิสาหกิจหุ้นส่วนทั้งสองประเภท ต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของ ตัวผู้ลงทุนเอง ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาถึงลักษณะของการลงทุน ลักษณะธุรกิจ ทุนที่จะนำมาลง ตลอดจน คุณสมบัติ ความน่าเชื่อถือของหุ้นส่วนแต่ละราย และความต้องการทั้งของตัวผู้ลงทุนเอง และผู้ที่จะมาร่วมลงทุน ด้วย เนื่องจากการจัดตั้งวิสาหกิจหุ้นส่วนนี้ ถึงแม้จะเป็นการจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมาใหม่ แยกต่างหากจากตัวผู้ลง ทุนเอง ผู้ลงทุนและ/หรือผู้ร่วมลงทุนยังต้องรับความเสี่ยงของวิสาหกิจหุ้นส่วนด้วย

ทั้งนี้หากผู้ลงทุนและผู้ร่วมลงทุนทุกรายต้องการจำกัดความรับผิดของตนเพียงเท่ากับทุนที่ได้ลงไว้ไม่มี ผู้ใดประสงค์จะเป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิด การเลือกจัดตั้งวิสาหกิจในรูปแบบ “บริษัท” อาจจะเป็นทางเลือก ที่เหมาะสมกว่า ดังที่จะได้กล่าวถึงต่อไปในบทความหน้า



กลับหน้าหลัก