ธุรกิจไทยที่มีศักยภาพ

คณะกรรมการคุ้มครองหลักทรัพย์

ในบทความก่อน ได้อธิบายถึงรายละเอียดของการจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์แล้ว ใน บทความนี้จึงจะกล่าวถึงรายละเอียดและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์

คณะกรรมการคุ้มครองหลักทรัพย์ หรือที่เรียกโดยย่อว่า “คคซ” เป็น “องค์การคุ้มครองเวียกงานหลัก ทรัพย์” โดยมีหน้าที่ควบคุม ดูแล และตรวจสอบธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ มีรองนายกรัฐมนตรีเป็น ประธานและมีข้าราชการระดับสูง เช่น ผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป. ลาว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ และยุติธรรม เป็นต้น เป็นคณะกรรมการ โดยปฏิบัติ หน้าที่หลัก ได้แก่ การวางแผน การจัดทำนโยบาย และพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ ส่งเสริมความรู้ทาง ด้านหลักทรัพย์ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย การอนุญาต หยุด และเพิกถอนการจำหน่ายหลักทรัพย์ และควบคุม ดูแลตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น

ในการดำเนินการของ คคซ. จะดำเนินงานร่วมกันเป็นคณะ กล่าวคือ จะต้องมีการจัดประชุมเพื่อหารือและ ลงมติ เช่นเดียวกับการประชุมของคณะกรรมการบริษัททั่วไป โดย คคซ. จะต้องมีการจัดประชุมสามัญทุกๆ 3 เดือน และในกรณีที่มีความจำเป็นอื่นก็สามารถจัดประชุมวิสามัญขึ้นได้ตามการเรียกประชุมของประธาน คคซ. หรือตาม การเสนอกรรมการ คคซ. เกินกึ่งหนึ่งในการจัดประชุมขึ้น ซึ่งในการประชุมจะใช้การลงคะแนนเสียงเพื่อให้ได้มติ โดยมติจะมีผลใช้ได้เมื่อได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการที่มาประชุม

ทั้งนี้ กฎหมายยังกำหนดให้ คคซ. เป็น “องค์การตรวจสอบงานด้านหลักทรัพย์” ซึ่งมีหน้าที่ใน การติดตาม และตรวจสอบการดำเนินการของบริษัทที่ออกจำหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาว ตลาดหลักทรัพย์ลาว กองทุนรวม สถาบันสื่อกลางด้านหลักทรัพย์ ได้แก่ นิติบุคคลที่ให้บริการทางด้านธุรกิจหลัก ทรัพย์ต่างๆ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทบริหารทรัพย์สิน ธนาคารดูแลทรัพยสิน เป็นต้น และรวมถึงหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องด้วย โดย คคซ. จะตั้งคณะผู้ตรวจสอบขึ้นมาเพื่อดำเนินการตรวจสอบทั้งในด้านการดำเนินธุรกิจ ระบบ การทำงานทางอิเล็กโทรนิกส์ ตลอดจนการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ ซึ่ง คคซ. ได้แบ่งรูปแบบในการตรวจสอบออกเป็น 3 รูปแบบคือ

  1. การตรวจตราแบบปกติ เป็นการเข้าตรวจสอบตามระยะเวลาที่กำหนดไว้เป็นการแน่นอน เช่น การตรวจ สอบรายปี รายไตรมาส เป็นต้น
  2. การตรวจสอบโดยมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเป็นการเข้าตรวจสอบเมื่อเห็นว่ามีความจำเป็นโดยคณะผู้ ตรวจสอบ จะมีการแจ้งให้แก่ผู้รับการตรวจสอบให้ทราบถึงวันที่และเวลาที่คณะผู้ตรวจสอบจะเข้าตรวจ สอบล่วงหน้าก่อน และ
  3. การตรวจสอบอย่างเร่งด่วน โดยไม่มีการแจ้งให้ผู้รับการตรวจสอบทราบล่วงหน้า

โดยในทางกลับกัน คคซ. ก็ต้องได้รับการตรวจสอบเช่นกัน โดยกฎหมายกำหนดให้มีการแต่งตั้งผู้ตรวจ สอบภายนอกขึ้นเพื่อตรวจสอบความโปร่งใสของการทำงานของ คคซ. ซึ่งมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบ ภายนอก คือ การตรวจสอบโดยสภาแห่งชาติ การตรวจสอบขององค์การตรวจสอบรัฐบาล และ การตรวจสอบโดย องค์การตรวจสอบแห่งรัฐ

ทั้งนี้ กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้มีผลบังคับใช้แก่ทั้งบุคคล นิติบุคคล และการจัดตั้งอื่นๆ ทั้งภายใน สปป. ลาว และในต่างประเทศ ทั้งที่ดำเนินธุรกรรมหลักทรัพย์ใน สปป. ลาว และในต่างประเทศด้วย ดังนั้น ใน กรณีที่คนลาวไปลงทุนในต่างประเทศ หรือในกรณีที่คนไทยไปลงทุนใน สปป ลาว ก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นี้ด้วยเช่นกัน

ดังนี้ จะเห็นได้ว่า คคซ. เป็นองค์การที่มีอำนาจในการควบคุมดูแลธุรกรรมที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ทั้งหมด จึง เป็นองค์กรที่ผู้ประสงค์จะลงทุนในหลักทรัพย์ และ/หรือ ออกหลักทรัพย์ใน สปป ลาว ต้องให้ความสำคัญ ทั้งใน ส่วนกฎระเบียบปลีกย่อย และขั้นตอนการดำเนินงานของ คคซ. เพื่อให้ตนได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และได้รับ ประโยชน์อย่างสูงสุดนั่นเอง



กลับหน้าหลัก