ภายใต้กฎหมายประกันสังคมของ สปป. ลาว มีการกำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างต้องเข้าระบบประกัน สังคมในกรณีที่นายจ้างมีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ถึงแม้ว่าจะเป็นกิจการของสาขา สำนักงานใหญ่ หากมีลูกจ้าง ไม่ถึง 10 คน กิจการของสาขาดังกล่าวก็ต้องเข้าระบบประกันสังคม
ทั้งนี้ กฎหมายประกันสังคมของ สปป. ลาว ไม่ได้บังคับใช้กับกิจการทุกประเภทใน สปป. ลาว โดย กฎหมายประกันสังคมมีการกำหนดประเภทของกิจการบางลักษณะที่ไม่อยู่ภายในบังคับของกฎหมายนี้ ยกตัวอย่างเช่น เจ้า หน้าที่รัฐ ทหาร ตำรวจ ผู้ที่ทำงานสถานฑูต คนต่างชาติที่ทำงานในบริษัทที่ตั้งอยู่ใน สปป. ลาว ซึ่งเป็นบริษัทที่มี สาขาอยู่หลายประเทศ โดยทำงานเป็นเวลาไม่เกิน 12 เดือน ลูกจ้างในบริษัทที่มีบริษัทในเครืออยู่ หลายประเทศและ ถูกส่งไปทำงานในต่างประเทศเป็นเวลา 12 เดือนขึ้นไป นักเรียน นักศึกษา แพทย์ฝึกงาน หรือ ผู้เข้าอบรมอื่นๆ ที่ไม่ ได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง
โดยทั่วไป ในแต่ละเดือนนายจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม มีหน้าที่ต้องนำส่งเงินสมทบให้แก่กองทุน ประกันสังคม ตามอัตราส่วนที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งนายจ้างมีหน้าที่ต้องหักค่าจ้างของลูกจ้างและออกเงินสมทบ ของนายจ้างเอง เพื่อนำเงินสมทบให้แก่กองทุนประกันสังคม
ลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม หรือที่เรียกว่าผู้ประกันตน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆในกรณีต่อ ไปนี้ จากกองทุนประกันสังคม
โดยจำนวนเงินค่าทดแทน และระยะเวลาที่จะได้รับเงินทดแทนจะขึ้นอยู่กับกรณีไป นอกจากนี้สิทธิ ประโยชน์ต่างๆ ได้ขยายความคุ้มครองไปถึงครอบครัว บุคคลผู้เกี่ยวข้องของผู้ประกันตนด้วย เช่น สามีหรือภรรยา และลูกของผู้ประกันตน มีสิทธิรับบริการทางการแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาลเช่นเดียวกันกับผู้ประกันตน
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการที่ กำหนดไว้ในแต่ละกรณี เช่น ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทน กรณีสูญเสียอวัยวะก็ต่อเมื่อมีการนำส่งเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคมอย่างน้อย 5 ปีมาแล้ว และเมื่อผู้ประกันตนอายุ 60 ปี เงินทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ นี้จะเปลี่ยนเป็นเงินบำนาญ เป็นต้น
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าระบบประกันสังคมของ สปป. ลาว นั้นมีความคล้ายคลึงกับระบบประกันสังคม ของไทย โดยมีความแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดตามสภาพสังคมในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ สปป ลาว และ ประเทศไทยต่างเป็นประเทศสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ดังนั้นระบบประกันสังคมจะมีข้อกำหนด เงื่อนไขสิทธิประโยชน์ต่างๆ และให้ความคุ้มครองในแนวทางเดียวกัน