เกร็ดการทำธุรกิจ

สรุปข้อมูลเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะของ สปป.ลาว

สรุปข้อมูลเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะของ สปป.ลาว

เมื่อปลายปี 2554 รัฐบาล สปป. ลาวได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ (Specific Economic Zone) ใน สปป. ลาว

ระหว่างปี 2554 – 2563 เพื่อเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจตามทิศทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาลภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 7 คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ (กองเลขาสังกัดสำนักงานนายกรัฐมนตรี) ทำหน้าที่กำกับดูแลและอนุมัติการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ รวมทั้งแต่งตั้งคณะบริหารและสภาบริหารเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ นายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีกำกับดูแลด้านเศรษฐกิจเป็นประธานคณะกรรมการ มีกรรมการ 19 คน ประกอบด้วยรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยและผู้แทนกระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การจัดตั้งและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะของสปป. ลาวเป็นไปตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนปี 2552 ดำรัสนายกรัฐมนตรีเดือนตุลาคม 2553 ว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะใน สปป.ลาว และดำรัสนายกรัฐมนตรีเดือนธันวาคม 2553 ว่าด้วยการจัดตั้งและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ การกำหนดเขตเพื่อพัฒนามี 3 แนวทาง คือ(1) กำหนดพื้นที่ทุกข์ยาก เขตห่างไกลเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะมีสิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าสำหรับนักลงทุนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สร้างเมืองใหม่ที่ทันสมัย (2) กำหนดพื้นที่ชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เพื่อส่งเสริมการลงทุน การค้า และการท่องเที่ยว (3) กำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมเป็นเขตอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรกรรม การผลิตเพื่อส่งออก

ตารางเปรียบเทียบเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ สปป.ลาว

หัวข้อ

เขตเศรษฐกิจพิเศษ

เขตเศรษฐกิจเฉพาะ

นิยาม

(1) เขตที่รัฐบาลกำหนดให้พัฒนาเป็นเมืองใหม่รอบด้าน เพื่อดึงดูดการลงทุน

(2) มีนโยบายส่งเสริมพิเศษและมีระบบเศรษฐกิจการเงินเป็นของตนเอง

(3) มีคณะบริหารและสภาบริหารกำกับดูแลการดำเนินการภายใน

(4) มีเนื้อที่ 1,000 เฮกตาร์หรือ 6,250 ไร่ขึ้นไป หากมีประชาชนอาศัยอยู่ในพื้นที่ก็ไม่จำเป็นต้องย้ายออกไป

เขตที่รัฐบาลกำหนดให้เพื่อส่งเสริมในสาขาใดหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เขตอุตสาหกรรม การผลิตเพื่อส่งออก เขตท่องเที่ยว เขตการค้าปลอดภาษี เขตเศรษฐกิจชายแดน ฯลฯ มีสภาบริหารกำกับดูแลการดำเนินการภายใน โดยต้องเป็นเขตที่ไม่มีประชาชนอาศัยอยู่

 

รูปแบบการลงทุน

มี 2 รูปแบบคือ รัฐบาลลงทุน 100% หรือเอกชนร่วมทุนกับรัฐบาล

มี 3 รูปแบบคือ รัฐบาลลงทุน 100% เอกชนร่วมทุนกับรัฐบาล หรือเอกชนลงทุน 100%

การจัดตั้ง

ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คกก.แห่งชาติฯ และลงนามสัญญาสัมปทานกับรัฐบาล (สำหรับเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษจัดตั้งโดยการลงนามสัญญาระหว่างผู้ลงทุนกับคณะบริหารหรือสภาบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นๆ 

การจัดการ

คณะบริหาร (ผู้แทนรัฐเป็นประธาน) และสภาบริหารเศรษฐกิจ (ผู้พัฒนาเป็นประธาน) 

สภาบริ หารเศรษฐกิจ (ผู้พัฒนาเป็นประธาน)


สิทธิประโยชน์สำหรับการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ คือ ผู้ลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับวัสดุอุปกรณ์และวัตถุดิบ ได้รับยกเว้นอากรกำไรสูงสุด 10 ปี และได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ตามกฎหมาย ปัจจุบัน สปป.ลาวมีเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ 11 เขต ดังนี้

เขตเศรษฐกิจ

ที่ตั้ง

จัดตั้ง

มูลค่าการลงทุน (เหรียญสหรัฐ)

พื้นที่(เฮกตาร์)

1. เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน - เซโน

สะหวันนะเขต

2002

74,000,000

1,012

2. เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นแดนคำ

หลวงน้ำทา

2003

500,000,000

1,640

3. เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ

บ่อแก้ว

2007

1,000,000,000

3,000

4. เขตเศรษฐกิจพิเศษเวียงจันทน์ – ลองแทงค์

นครหลวงเวียงจันทน์

2008

1,000,000,000

560

5. เขตนิคมอุตสาหกรรม การค้าเวียงจันทน์ - โนนทอง

นครหลวงเวียงจันทน์

2009

43,000,000

110

6. เขตเศรษฐกิจเฉพาะดงโพสี

นครหลวงเวียงจันทน์

2009

50,000,000

54

7. เขตพัฒนาเศรษฐกิจไชยเชษฐา

นครหลวงเวียงจันทน์

2010

128,000,000

1,000

8. เขตเศรษฐกิจเฉพาะภูเขียว

คำม่วน

2011

708,000,000

4,850

9. เขตเศรษฐกิจเฉพาะบึงธาตุหลวง

นครหลวงเวียงจันทน์

2011

1,600,000,000

365

10. เขตเศรษฐกิจเฉพาะท่าแขก

คำม่วน

2012

80,000,000

1,035

11. เขตเศรษฐกิจพิเศษจำปาสัก

จำปาสัก

2015

162,500,000

995

รวม

4,895,500,000

14,621


ตารางแสดงเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะแยกตามประเภทการลงทุน

ประเภท

จำนวน (แห่ง)

คิดเป็นร้อยละ

อุตสาหกรรม

5

45.5

การค้า

3

27.25

บริการ

3

27.25


ตารางแสดงเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะแยกตามประเภทของผู้ลงทุน

ประเภทการของผู้ลงทุน

เขตเศรษฐกิจพิเศษ – เฉพาะ

รัฐบาล

- เขตเศรษฐกิจเฉพาะท่าแขก

เอกชน

- เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นแดนคำ

- เขตเศรษฐกิจเฉพาะบึงธาตุหลวง

- เขตเศรษฐกิจพิเศษเวียงจันทน์ – ลองแทงค์

- เขตเศรษฐกิจเฉพาะภูเขียว

- เขตเศรษฐกิจพิเศษจำปาสัก

รัฐบาลและเอกชน

- เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน – เซโน

- เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ

- เขตนิคมอุตสาหกรรม การค้าเวียงจันทน์ – โนนทอง

- เขตพัฒนาเศรษฐกิจไชยเชษฐา

- เขตเศรษฐกิจเฉพาะดงโพสี


ตารางแสดงการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ลำดับ

ประเทศ

จำนวน(โครงการ)

ทุนจดทะเบียน

การลงทุนโดยประมาณ

ต่างประเทศ

322

1,883,802,611

7,734,722,353

1

จีน

234

1,480,912,411

6,404,273,140

2

ไทย

29

27,887,300

59,898,500

3

ญี่ปุ่น

19

21,880,000

19,080,000

4

เมียนมาร์

16

27,900

55,800

5

มาเลเซีย

5

2,645,000

1,815,000

6

ฝรั่งเศส

5

1,900,000

29,200,000

7

เวียดนาม

4

335,300,000

1,163,499,913

8

อิตาลี

3

10,350,000

20,400,000

9

เนเธอร์แลนด์

2

1,000,000

1,500,000

10

เดนมาร์ก

1

500,000

 

11

เยอรมนี

1

100,000

 

12

สหรัฐอเมริกา

1

 

33,000,000

13

ฮ่องกง

1

 

 

14

เกาหลี

1

1,300,000

2,000,000

ภายในประเทศ

76

499,103,950

1,431,605,972

ความร่วมมือร่วม

22

1,775,480,000

7,885,856,500

รวม

420

4,158,386,561

17,052,184,825


ตามแผนยุทธศาสตร์ข้างต้น สปป.ลาวกำหนดจะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะเพิ่มอีก 30 แห่งรวมเป็น 41แห่ง

แผนที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะในสปป.ลาว



โครงสร้างคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ในสปป.ลาว



จุดประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ


ที่มา : คณะกรรมการแห่งชาติลาว เพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์

มกราคม 2559

02/05/2016



กลับหน้าหลัก