สรุปข้อมูลเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะของ สปป.ลาว
เมื่อปลายปี 2554 รัฐบาล สปป. ลาวได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) และเขตเศรษฐกิจเฉพาะ (Specific Economic Zone) ใน สปป. ลาว
ระหว่างปี 2554 – 2563 เพื่อเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจตามทิศทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาลภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 7 คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ (กองเลขาสังกัดสำนักงานนายกรัฐมนตรี) ทำหน้าที่กำกับดูแลและอนุมัติการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ รวมทั้งแต่งตั้งคณะบริหารและสภาบริหารเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ นายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีกำกับดูแลด้านเศรษฐกิจเป็นประธานคณะกรรมการ มีกรรมการ 19 คน ประกอบด้วยรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยและผู้แทนกระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การจัดตั้งและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะของสปป. ลาวเป็นไปตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนปี 2552 ดำรัสนายกรัฐมนตรีเดือนตุลาคม 2553 ว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะใน สปป.ลาว และดำรัสนายกรัฐมนตรีเดือนธันวาคม 2553 ว่าด้วยการจัดตั้งและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ
ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ การกำหนดเขตเพื่อพัฒนามี 3 แนวทาง คือ(1) กำหนดพื้นที่ทุกข์ยาก เขตห่างไกลเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะมีสิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าสำหรับนักลงทุนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สร้างเมืองใหม่ที่ทันสมัย (2) กำหนดพื้นที่ชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เพื่อส่งเสริมการลงทุน การค้า และการท่องเที่ยว (3) กำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมเป็นเขตอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรกรรม การผลิตเพื่อส่งออก
ตารางเปรียบเทียบเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ สปป.ลาว
หัวข้อ |
เขตเศรษฐกิจพิเศษ |
เขตเศรษฐกิจเฉพาะ |
นิยาม |
(1) เขตที่รัฐบาลกำหนดให้พัฒนาเป็นเมืองใหม่รอบด้าน เพื่อดึงดูดการลงทุน (2) มีนโยบายส่งเสริมพิเศษและมีระบบเศรษฐกิจการเงินเป็นของตนเอง (3) มีคณะบริหารและสภาบริหารกำกับดูแลการดำเนินการภายใน (4) มีเนื้อที่ 1,000 เฮกตาร์หรือ 6,250 ไร่ขึ้นไป หากมีประชาชนอาศัยอยู่ในพื้นที่ก็ไม่จำเป็นต้องย้ายออกไป |
เขตที่รัฐบาลกำหนดให้เพื่อส่งเสริมในสาขาใดหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เขตอุตสาหกรรม การผลิตเพื่อส่งออก เขตท่องเที่ยว เขตการค้าปลอดภาษี เขตเศรษฐกิจชายแดน ฯลฯ มีสภาบริหารกำกับดูแลการดำเนินการภายใน โดยต้องเป็นเขตที่ไม่มีประชาชนอาศัยอยู่
|
รูปแบบการลงทุน |
มี 2 รูปแบบคือ รัฐบาลลงทุน 100% หรือเอกชนร่วมทุนกับรัฐบาล |
มี 3 รูปแบบคือ รัฐบาลลงทุน 100% เอกชนร่วมทุนกับรัฐบาล หรือเอกชนลงทุน 100% |
การจัดตั้ง |
ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คกก.แห่งชาติฯ และลงนามสัญญาสัมปทานกับรัฐบาล (สำหรับเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษจัดตั้งโดยการลงนามสัญญาระหว่างผู้ลงทุนกับคณะบริหารหรือสภาบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นๆ | |
การจัดการ |
คณะบริหาร (ผู้แทนรัฐเป็นประธาน) และสภาบริหารเศรษฐกิจ (ผู้พัฒนาเป็นประธาน) |
สิทธิประโยชน์สำหรับการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ คือ ผู้ลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับวัสดุอุปกรณ์และวัตถุดิบ ได้รับยกเว้นอากรกำไรสูงสุด 10 ปี และได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ตามกฎหมาย ปัจจุบัน สปป.ลาวมีเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ 11 เขต ดังนี้
เขตเศรษฐกิจ |
ที่ตั้ง |
จัดตั้ง |
มูลค่าการลงทุน (เหรียญสหรัฐ) |
พื้นที่(เฮกตาร์) |
1. เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน - เซโน |
สะหวันนะเขต |
2002 |
74,000,000 |
1,012 |
2. เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นแดนคำ |
หลวงน้ำทา |
2003 |
500,000,000 |
1,640 |
3. เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ |
บ่อแก้ว |
2007 |
1,000,000,000 |
3,000 |
4. เขตเศรษฐกิจพิเศษเวียงจันทน์ – ลองแทงค์ |
นครหลวงเวียงจันทน์ |
2008 |
1,000,000,000 |
560 |
5. เขตนิคมอุตสาหกรรม การค้าเวียงจันทน์ - โนนทอง |
นครหลวงเวียงจันทน์ |
2009 |
43,000,000 |
110 |
6. เขตเศรษฐกิจเฉพาะดงโพสี |
นครหลวงเวียงจันทน์ |
2009 |
50,000,000 |
54 |
7. เขตพัฒนาเศรษฐกิจไชยเชษฐา |
นครหลวงเวียงจันทน์ |
2010 |
128,000,000 |
1,000 |
8. เขตเศรษฐกิจเฉพาะภูเขียว |
คำม่วน |
2011 |
708,000,000 |
4,850 |
9. เขตเศรษฐกิจเฉพาะบึงธาตุหลวง |
นครหลวงเวียงจันทน์ |
2011 |
1,600,000,000 |
365 |
10. เขตเศรษฐกิจเฉพาะท่าแขก |
คำม่วน |
2012 |
80,000,000 |
1,035 |
11. เขตเศรษฐกิจพิเศษจำปาสัก |
จำปาสัก |
2015 |
162,500,000 |
995 |
รวม |
4,895,500,000 |
14,621 |
ตารางแสดงเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะแยกตามประเภทการลงทุน
ประเภท |
จำนวน (แห่ง) |
คิดเป็นร้อยละ |
อุตสาหกรรม |
5 |
45.5 |
การค้า |
3 |
27.25 |
บริการ |
3 |
27.25 |
ตารางแสดงเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะแยกตามประเภทของผู้ลงทุน
ประเภทการของผู้ลงทุน |
เขตเศรษฐกิจพิเศษ – เฉพาะ |
รัฐบาล |
- เขตเศรษฐกิจเฉพาะท่าแขก |
เอกชน |
- เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นแดนคำ - เขตเศรษฐกิจเฉพาะบึงธาตุหลวง - เขตเศรษฐกิจพิเศษเวียงจันทน์ – ลองแทงค์ - เขตเศรษฐกิจเฉพาะภูเขียว - เขตเศรษฐกิจพิเศษจำปาสัก |
รัฐบาลและเอกชน |
- เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน – เซโน - เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ - เขตนิคมอุตสาหกรรม การค้าเวียงจันทน์ – โนนทอง - เขตพัฒนาเศรษฐกิจไชยเชษฐา - เขตเศรษฐกิจเฉพาะดงโพสี |
ตารางแสดงการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ
ลำดับ |
ประเทศ |
จำนวน(โครงการ) |
ทุนจดทะเบียน |
การลงทุนโดยประมาณ |
ต่างประเทศ |
322 |
1,883,802,611 |
7,734,722,353 | |
1 |
จีน |
234 |
1,480,912,411 |
6,404,273,140 |
2 |
ไทย |
29 |
27,887,300 |
59,898,500 |
3 |
ญี่ปุ่น |
19 |
21,880,000 |
19,080,000 |
4 |
เมียนมาร์ |
16 |
27,900 |
55,800 |
5 |
มาเลเซีย |
5 |
2,645,000 |
1,815,000 |
6 |
ฝรั่งเศส |
5 |
1,900,000 |
29,200,000 |
7 |
เวียดนาม |
4 |
335,300,000 |
1,163,499,913 |
8 |
อิตาลี |
3 |
10,350,000 |
20,400,000 |
9 |
เนเธอร์แลนด์ |
2 |
1,000,000 |
1,500,000 |
10 |
เดนมาร์ก |
1 |
500,000 |
|
11 |
เยอรมนี |
1 |
100,000 |
|
12 |
สหรัฐอเมริกา |
1 |
|
33,000,000 |
13 |
ฮ่องกง |
1 |
|
|
14 |
เกาหลี |
1 |
1,300,000 |
2,000,000 |
ภายในประเทศ |
76 |
499,103,950 |
1,431,605,972 | |
ความร่วมมือร่วม |
22 |
1,775,480,000 |
7,885,856,500 | |
รวม |
420 |
4,158,386,561 |
17,052,184,825 |
ตามแผนยุทธศาสตร์ข้างต้น สปป.ลาวกำหนดจะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะเพิ่มอีก 30 แห่งรวมเป็น 41แห่ง
แผนที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะในสปป.ลาว
โครงสร้างคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ในสปป.ลาว
จุดประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ
ที่มา : คณะกรรมการแห่งชาติลาว เพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ
สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์
มกราคม 2559
02/05/2016