สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
มีเนื้อที่ทั้งประเทศเพียง 236,800 ตารางกิโลเมตร ประชากร 6.5 ล้านคน แต่ประเทศขนาดเล็กที่ว่านี้กลับมีแรงดึงดูดต่อนานาประเทศให้เข้ามาลงทุน กลายเป็นพื้นที่การลงทุนของกลุ่มอาเซียนอันดับต้น ๆ ที่ใคร ๆ ก็กาลังจับจ้องด้วยเพราะ สปป.ลาว ยังเป็นประเทศที่ร่ารวยทรัพยากรทางธรรมชาติและมีค่าแรงต่า "พิษณุ จันทร์วิทัน" เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเวียงจันทน์ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงโอกาสและความท้าทายของการลงทุนใน สปป.ลาว
ถ้าเอาสถานการณ์ปัจจุบันเทียบกับเมื่อ 10 ปีที่แล้วก็ถือว่าเปลี่ยนไปเยอะมากคือลาวโตขึ้น การลงทุนจากต่างชาติเข้ามามากขึ้น ทั้งเวียดนาม, จีน, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย และเกาหลี ขณะที่ทุนไทยก็เพิ่มขึ้นตามมา ด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจัยที่เป็นแรงดึงดูดก็คือ ทรัพยากรธรรมชาติของลาวที่ยังอุดมสมบูรณ์, มีแรงงาน และศักยภาพอีกอย่างของลาวก็คือสามารถเชื่อมต่อไปยังจีนตอนใต้ และเวียดนาม
การพัฒนาของลาวในช่วงระยะ 10 ปีไม่เคยหยุด โดยเฉพาะการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งปัจจุบันประเทศที่เข้ามาลงทุนในลาวมากที่สุดคือจีนและเวียดนาม ส่วนไทยตามมาเป็นอันดับ 3 ซึ่งเราก็อย่าไปมองเรื่องอันดับเลยว่าใครจะเข้ามาลงทุนมากหรือลงทุนน้อย แต่อยากให้มองดูโอกาสที่เป็นไปได้ในหลาย ๆ ด้านของลาวมากกว่า เพราะบางทีมาลงทุนกัน เยอะ ๆ แต่ไม่สาเร็จก็มี
ฉะนั้นเราต้องมองตลาดด้วยว่าลาวเขาต้องการอะไร หรือเราเข้ามาลงทุนในแง่มุมไหน เช่น ผลิตสินค้าหรือเอาสินค้าเข้ามาป้อนคนลาว หรือมาลงทุนเพื่อใช้ลาวเป็นฐานการผลิตและส่งออกไป
เศรษฐกิจการค้าของไทยกับลาวก็ยังผูกพันกัน การค้าระหว่างสองประเทศ ปี 2556 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 160,000 ล้านบาท เป็นสัดส่วนการค้าชายแดน 140,000 ล้านบาท สินค้าอุปโภคบริโภคลาวต้องการมากจากไทย และเขายอมรับและเชื่อมั่นในสินค้าไทย
แต่ในแง่ว่าจะเข้ามาลงทุนอะไรดีในลาว เราต้องดูตัวเราก่อนว่าเรามีสินค้าอะไร จะมาลงทุนเพื่อขายคนลาว หรือจะมาลงทุนเพื่อเป็นฐานการผลิต ถ้าจะมาลงทุนเพื่อใช้ลาวเป็นฐานการผลิตก็มีโอกาส เช่น การลงทุนด้านพลังงาน, การเกษตร, การเลี้ยงสัตว์ และการท่องเที่ยว หรือธุรกิจบริการ ก็ยังมีโอกาสอยู่มาก และมีแรงงานที่ค่าแรงถูกกว่าประเทศไทย แต่การใช้ลาวเป็นฐานการผลิต เราต้องไม่รับฝ่ายเดียวแต่ต้องให้เขาด้วย
ท่องเที่ยวในลาวมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะลาวเป็นจุดหมายปลายทางหนึ่งในกลุ่ม AEC มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เช่น วังเวียง ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาท่องเที่ยวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือในแขวง (จังหวัด) อื่น ๆ ของลาวก็มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ที่ยังบริสุทธิ์อยู่ ซึ่งปี 2558 เมื่อ AEC เปิดการเคลื่อนย้ายสินค้าและคนก็จะง่ายขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวมีโอกาสที่นักลงทุนจะเข้ามาลงทุน พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ ร่วมทุนกับลาว ลงทุนสร้างที่พัก และร้านอาหาร หรือสิ่งอานวยความสะดวกรองรับนักท่องเที่ยว ปี 2556 จานวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในลาว 3.7 ล้านคน ในจานวนนี้ เป็นนักท่องเที่ยวไทย 2.1 ล้านคน
ประชากรลาวมีจานวน 6.5 ล้านคน เป็นคนที่อยู่ในชนบทห่างไกล เป็นคนชนเผ่า ประมาณ 3 ล้านคน ที่เหลือก็กระจายอยู่ตามแขวงต่าง ๆ และอีกราว 8 แสนคนอยู่ในกรุงเวียงจันทน์ รายได้ต่อหัวของ
ประชากรลาวปัจจุบันเฉลี่ย 1,300 เหรียญสหรัฐต่อปี ต่างกับไทยถึง 6 เท่า ถ้ามองในด้านเราจะเอาสินค้าอะไรมาขายคนลาว ถ้าเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่มก็ต้องคิดให้หนัก เพราะลาวเป็นตลาดเล็ก เราจะขายให้ใคร ขายให้คนลาวทุกคนก็คงยาก
แต่ถ้าเจาะตลาดเฉพาะกรุงเวียงจันทน์ก็มีโอกาส แต่ต้องเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม เพราะ 8 แสนคนที่อยู่ในเวียงจันทน์ก็ไม่ได้ รวยกันทุกคน ราว 10% เท่านั้นที่เป็น กลุ่มระดับกลาง-บนที่มีกาลังซื้อสูง
ขณะนี้โครงสร้างการคมนาคมของประเทศลาวยังไม่สะดวกในบางท้องที่ อาจเป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุน ของไทยได้ซึ่งจะต้องศึกษาศักยภาพของพื้นที่นั้น ๆ ว่าเราจะเข้าไปลงทุนด้วยอย่างรอบคอบ
ขณะที่ความท้าทายอีกอย่างก็คือ เรื่องแรงงานในลาวเริ่มขาดแคลน การลงทุนเข้ามามากก็เริ่มมีการแย่งแรงงานกัน แม้แรงงานราคาถูกจริงแต่ถ้าไม่มีแรงงานรองรับการลงทุนก็ทาให้ธุรกิจขับเคลื่อนไป ได้ลาบาก อีกทั้งเรื่องตัวบทกฎหมายในบางแขวงของลาวก็ยังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะระบบบางอย่างอาจยังไม่มีความเป็นสากลก็กลายเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนได้
แม้วันนี้ สปป.ลาว กลายเป็นประเทศเป้าหมายปลายทางที่หลายประเทศกาลังเข้ามารุมตอม ซึ่งก็มีทั้งโอกาส และมีความท้าทาย ดังนั้นนักลงทุนไทยต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบและรอบด้าน
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 4659 วันที่ 4 - 7 กันยายน พ.ศ. 2557 หน้า 25