หน่วยงานสำคัญในการติดต่อธุรกิจ

การประเมินความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ กรณีเปรียบเทียบระหว่าง สปป. ลาวและศรีลังกา

วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในศรีลังกาได้ก่อให้เกิดคำถามว่า สภาพเศรษฐกิจและการขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิง
ที่เกิดขึ้นใน สปป. ลาว นั้น จะนำไปสู่สถานการณ์คล้ายคลึงเช่นที่เกิดขึ้นในศรีลังกาหรือไม่ เนื่องจากมีค่าดัชนี
ชี้วัดทางเศรษฐกิจหลายประการ อาทิ หนี้สาธารณะ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อ ฯลฯ ที่บ่งชี้
ไปในทิศทางดังกล่าว เป็นต้น

ฝ่ายเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์                 ได้รวบรวมข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายของทั้งสองประเทศ เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ   ในการประเมินสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของ สปป. ลาว
โดยพิจารณาจากปัจจัยสำคัญ 7 ประการ ประกอบด้วย    (1) ภาพรวม (2) อัตราเงินเฟ้อ (3) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (4) หนี้สาธารณะ (5) นโยบายด้านการเงิน
และการคลัง (6) แหล่งรายได้ใหม่ของประเทศ และ
(7) ปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ ที่จะช่วยให้
ผู้อ่านสามารถเห็นภาพและพิจารณาในเบื้องต้นถึงปัจจัยและความแตกต่างของบริบททางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

(1) ภาพรวม สปป. ลาว เป็นประเทศไม่มีทางออกทะเล (Land-locked Country) ตั้งอยู่ในภูมิภาคอาเซียน
มีประชากรประมาณ 7 ล้านคน โดยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร GDP ของ สปป. ลาว ในปี 2564
มีมูลค่าประมาณ 18,827 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ขยายตัวเพิ่มจากปี 2563 ร้อยละ 2.5) รายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร รวมเป็นร้อยละ 88 ของ GDP ขณะที่ศรีลังกา เป็นเกาะอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ มีประชากรประมาณ 21.92 ล้านคน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเช่นเดียวกัน แต่รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศพึ่งพาภาคบริการ และการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรไปยังต่างประเทศ โดย GDP ในปี 2564 มีมูลค่าประมาณ 84,518 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ขยายตัวเพิ่มจากปี 2563 ร้อยละ 1.8)

วิกฤตเศรษฐกิจในศรีลังกามีสาเหตุหลักจากการบริหารจัดการของรัฐบาลด้านการเงิน การปรับลดภาษีอย่างกะทันหัน รวมถึงผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 รายรับส่วนใหญ่ของศรีลังกาพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวและเงินตราต่างประเทศอย่างมาก การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้รายได้ของประเทศลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อรวมกับหนี้ต่างประเทศจำนวนมากที่ไม่สามารถชำระได้ตามกำหนด เงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศลดลง ค่าเงินอ่อน จึงนำไปสู่การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงและเครื่องอุปโภคบริโภค ประกอบกับปัญหาการเมืองและความเคลื่อนไหวของประชาชนภายในประเทศ จนนำไปสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจตามที่ปรากฏรายงานข่าว ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างศรีลังกากับ สปป. ลาว คือ สปป. ลาว มีเสถียรภาพทางการเมืองสูงและสถานการณ์ภายในประเทศสงบ รัฐบาลดำเนินนโยบายปรับโครงสร้างทางการเงินในประเทศผ่านการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารพาณิชย์ และร้านแลกเงินนอกระบบ มีการออกพันธบัตรเพื่อระดมทุนจากธนาคารแห่ง สปป. ลาว (จำหน่ายแล้วร้อยละ 80) และกระทรวงการเงิน สปป. ลาว สปป. มีแหล่งรายได้ใหม่และแผนในการดำเนินการชำระหนี้ต่างประเทศ (ข้อมูลจากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (NEDA) ระบุว่า สปป. ลาวยังไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ต่อไทย) นอกจากนี้ สปป.ลาวยังมีรายได้จากการส่งสินค้าออก สามารถผลิตอาหารเพียงพอกับความต้องการในประเทศ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น การขนส่งสินค้า การท่องเที่ยว การจับจ่ายซื้อขายสินค้า ยังดำเนินต่อเนื่อง

พัฒนาการของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ใน สปป. ลาว

สปป. ลาว ถือเป็นประเทศที่มีทรัพยากรแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับที่ราบหุบเขา อันเกิดจากการยกตัวของแผ่นทวีปเก่า และมีภูเขาไฟที่ดับแล้วหลายแห่ง จากการสำรวจได้ค้นพบสายแร่ธาตุและโลหะมีค่าต่าง ๆ เป็นจำนวนมากจึงเป็นโอกาสให้รัฐบาล สปป. ลาวนำทรัพยากรเหล่านั้นมาพัฒนาประเทศ ผ่านการให้สัมปทานกับบริษัทต่างชาติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนและเจรจาจากรัฐบาล
ปัจจุบันบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้สำรวจและศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจและเทคนิคการขุดค้นและแปรรูปแร่ธาตุ ทั้งหมด 230 บริษัท โดยแบ่งออกเป็น อยู่ในความดูแลของภาคธรณีศาสตร์แร่ธาตุ 105 บริษัท 124 กิจการ และอยู่ในการดูแลของภาคเหมืองแร่ 125 บริษัท 205 กิจการ ประกอบด้วยบริษัทที่กำลังดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจและเทคนิค 42 บริษัท 60 กิจการ และบริษัทที่รัฐบาลอนุมัติโครงการสัมปทานขุดค้นทั่วไป 83 บริษัท

มันสำปะหลังและยางพารา พืชเศรษฐกิจใหม่ของ สปป. ลาว

สปป. ลาวเป็นประเทศที่ภาคเกษตรกรรมเป็นแหล่งรายได้หลักของประชาชน โดยในปี 2564 รายได้จาก                 ภาคการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 16 ของ GDP  โดยรัฐบาล สปป. ลาวได้กำหนดให้แผนการส่งเสริมภาคการเกษตร             เลี้ยงสัตว์ และปลูกพืชเชิงพาณิชย์เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2564 - 2568) เพื่อให้สามารถส่งออกสินค้าเกษตรได้อย่างน้อย 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยพืชส่งออกหลักของ สปป. ลาว ได้แก่ มันสำปะหลัง ยางพารา กล้วย กาแฟ (ยังไม่แปรรูป) ข้าวโพด และข้าว นอกจากนี้ การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อทดแทนการนำเข้ายังเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของวาระแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา
ด้านเศรษฐกิจและการคลังอีกด้วย

พลังงานสะอาด กับโอกาสการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจแบบยั่งยืนของ สปป. ลาว

ท่ามกลางวิกฤติการณ์ขาดแคลนพลังงานในหลายพื้นที่ของอาเซียน ทั้งในเมียนมา กัมพูชา และ สปป. ลาว เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้นทั่วโลก สปป. ลาว จึงได้ตั้งเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในการคมนาคม และขนส่ง เช่น การนำใช้รถไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ให้มากขึ้นเพื่อ
ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง อีกทั้งยังเป็นการผลักดันการนำใช้ทรัพยากรที่มีภายในประเทศให้เกิดประโยชน์ และมุ่งเน้นการส่งออกเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์เงินเฟ้อ
สปป. ลาว  เป็นประเทศที่มีจุดเด่นด้านลักษณะภูมิศาสตร์และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านทั้งประเทศ
มีความเหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการก่อสร้างโครงการเกี่ยวกับการให้กำเนิดพลังงาน โดยเฉพาะการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ โดยการศึกษาพื้นที่ทั่วประเทศ พบว่ามีพื้นที่ที่สามารถสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำทั้งขนาดใหญ่ และขนาดเล็กได้มากกว่า 140 แห่ง
ปัจจุบัน สปป. ลาว มีแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สามารถผลิตไฟฟ้าแล้ว 90 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น ไฟฟ้าพลังงานน้ำที่มีกำลังการผลิตติดตั้ง 1 เมกะวัตต์ขึ้นไป จำนวน 77 แห่ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 81 ของพลังงานที่ผลิตทั้งหมด ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 8 แห่ง ไฟฟ้าพลังงานชีวมวลจำนวน 4 แห่ง และไฟฟ้าพลังงานความร้อนถ่านหินจำนวน 1 แห่ง รวมกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมดกว่า 10,956 เมกะวัตต์ โดยร้อยละ 72 ที่พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่งออกจำหน่ายไปต่างประเทศ อาทิ ไทย เวียดนาม กัมพูชา สิงคโปร์ และเมียนมา
ที่ผ่านมา สปป.ลาว ให้ความสำคัญกับการร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะไทย
ซึ่งได้ลงนาม MOU ขยายกรอบความร่วมมือด้านพลังงานจาก 9,000 เมกะวัตต์ เป็น 10,500 เมกะวัตต์ ซึ่งช่วยในการขยายการผลิต และตอบสนองนโยบายด้านความมั่นคงทางพลังงานของไทย ที่ต้องการพลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
สิงคโปร์ได้ลงนามขอซื้อไฟฟ้าเพิ่มจาก สปป.ลาว โดยจะจัดส่งกระแสไฟฟ้าผ่านระบบสายส่งข้ามประเทศ เบื้องต้นรัฐบาล สปป. ลาวจะส่งไฟฟ้าจำนวน 100 เมกะวัตต์ไปยังสิงคโปร์ เนื่องจากเมื่อปี 2557 สปป. ลาว ไทย มาเลเซียและสิงคโปร์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง “โครงการร่วมส่งพลังงาน สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์” หรือ Lao PDR, Thailand, Malaysia and Singapore Power Integration Project: LTMS-PIP ขึ้น โดยอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC และโครงการส่งกระแสไฟฟ้าแห่งอาเซียน หรือ ASEAN Power Grid ที่มีเป้าหมายเพื่อกระจายแหล่งพลังงานไฟฟ้าให้ทั่วถึงภายในอาเซียน โดย สปป.ลาว สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำได้จำนวนมากและประสงค์จะจำหน่ายไฟฟ้าเหล่านี้ให้ประเทศเพื่อนบ้าน โดยประกาศตัวเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชียและความร่วมมือของ 4 ประเทศนี้จะทำให้อาเซียนตอนบนมีโครงข่ายไฟฟ้าที่เข้มแข็ง
เมื่อเดือน ก.ย. 2559  สปป. ลาว ไทย และมาเลเซีย ได้ลงนามจำหน่ายไฟฟ้าร่วมกัน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (Electricite du Laos: EDL) การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย และบริษัท Tanaka Electric National มาเลเซีย นอกจากนี้ สปป. ลาวยังร่วมมือกับจีน ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าแบบระบบสู่ระบบ (Grid to Grid) โดยบริษัท China Southern Power Grid หรือ CSG และ EDL ลงนามข้อตกลงการค้าไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์เมื่อเดือน มี.ค. 2565 เพื่อใช้ไฟฟ้าพลังงานน้ำส่วนเกินใน สปป. ลาวช่วงฤดูฝน  

โอกาสและความท้าทายในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าใน สปป. ลาว

ปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคทั่วโลกทั้งในด้านราคา เทคโนโลยีแบตเตอรี่ หลายประเทศเริ่มเปลี่ยน
<br />
มาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและพัฒนาระบบสถานีชาร์จไฟฟ้าตามสถานที่ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดมลพิษทางอากาศจาก
<br />
การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และลดกระทบจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
<br />

<div>ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาครัฐหลายประเทศมีนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า อาทิ ยกเว้นภาษีจดทะเบียน
  <br />
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนลดภาษีรถยนต์รายปี ให้ชาร์จไฟในจุดชาร์จสาธารณะ ให้เงินอุดหนุน ฟรีค่าผ่านทางและอื่น ๆ</div>

<div>
  <br />
สปป. ลาว รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้ใช้งาน รวมทั้งภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ ยานยนต์ไฟฟ้า
  <br />
โดยมีมติเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2564 ว่าด้วยนโยบายและแนวทางการดำเนินปฏิบัติในการเปลี่ยนไปสู่การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
  <br />
เพื่อให้สอดคล้องกับวาระแห่งชาติว่าด้วยการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการคลัง โดยเฉพาะมาตรการประหยัด ลดการนำเข้า
  <br />
น้ำมันเชื้อเพลิง ลดการรั่วไหลของเงินตราต่างประเทศ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้า ที่สปป. ลาวมีศักยภาพ
  <br />
ในการผลิตไฟฟ้า มีค่าไฟฟ้าถูกกว่าพื้นที่อื่น ๆ มีแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานทดแทนหลายแห่ง ซึ่งการส่งเสริม
  <br />
ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจะช่วยให้รัฐบาลมีแหล่งรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
  <br />

  <br />
สปป. ลาว เปิดรับนักลงทุนที่มีความสนใจลงทุนในกิจการนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้า หรือร่วมพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
  <br />
อาทิ ศูนย์ซ่อมบำรุง ศูนย์ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่และประกอบเพื่อใช้ภายใน หรือส่งออก ผู้เชี่ยวชาญด้านแบตเตอรี่ และสถานี
  <br />
ชาร์จไฟฟ้าตามจุดแวะพักรถ เป็นต้น โดยมีนโยบายพิเศษในการนำเข้าและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เช่น ภาษีนำเข้ายานยนต์
  <br />
ไฟฟ้าร้อยละ 0 ภาษีสรรพสามิตร้อยละ 3 ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 และไม่จำกัดโควตานำเข้าเพื่อให้สามารถแข่งขัน
  <br />
ด้านราคาอีกด้วย
  <br />

  <br />
ภาครัฐเป็นต้นแบบของการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าใน สปป. ลาว โดยเริ่มจากรถประจำตำแหน่งของรัฐ จากนั้น จะผลักดันให้รัฐวิสาหกิจ
  <br />
ขนส่งสาธารณะ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยตั้งเป้าจำนวนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้อย่างน้อย
  <br />
ร้อยละ 1 หรือประมาณ 20,000 คัน ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์ 8,000 คัน รถโดยสารประจำทางและรถบรรทุกขนาดเล็ก 150 คัน
  <br />
และรถยนต์ส่วนบุคคล 11,850 คันและกำหนดแผนพัฒนาสถานีชาร์จให้ได้อย่างน้อย 50 สถานี โดยจะเปลี่ยนจากสถานีบริการ
  <br />
น้ำมันมาเป็นสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าตามเส้นทางหลวงและตัวเมืองใหญ่ภายในปี 2568 และเพิ่มจำนวนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า
  <br />
ให้ได้ร้อยละ 30 และติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า 100 สถานีภายในปี 2573
  <br />

  <br />
ปัจจุบัน สปป. ลาว มีบริษัทตัวแทนจำหน่ายและนำเข้า ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายจำนวน 10 แห่ง และบริษัทที่ได้รับอนุญาต
  <br />
ดำเนินธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้าจำนวน 10 แห่ง สถานีชาร์จไฟฟ้า 16 จุด โดย 1 จุดเป็นระบบชาร์จไฟฟ้าแบบเร็ว นอกจากนี้
  <br />
สปป. ลาวอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดแผนพัฒนาสถานีชาร์จไฟฟ้า โดยกำหนดระยะทางทุก ๆ
  <br />
100 กิโลเมตร ให้มีสถานีชาร์จไฟฟ้าแบบเร็ว 5 ตู้ โดยเฉพาะตามเส้นทางหลวงแห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ – อัดตะปือ
  <br />
และนครหลวงเวียงจันทน์ - หลวงพระบาง จากข้อมูลกรมนำเข้าและส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว
  <br />
ระบุว่า มีการนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้าจากการช่วยเหลือขององค์การระหว่างประเทศ ภาคเอกชนนำเข้าเพื่อใช้ในโครงการ
  <br />
และนำเข้าเพื่อจำหน่ายใน สปป. ลาวแล้วประมาณ 300 คัน (ไม่รวมรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า) และตามข้อมูลแผนกโยธาธิการ</div>

<div>และขนส่ง นครหลวงเวียงจันทน์ มีรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 166 คัน
  <br />

  <br />
อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าใน สปป. ลาวยังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน อาทิ (1) การประสานงาน
  <br />
และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังมีความยุ่งยาก และใช้เวลานาน (2) สถานีชาร์จไฟฟ้ายังไม่ครอบคลุม
  <br />
ทุกพื้นที่ ใช้งบประมาณสูง ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ใช้เวลาชาร์จนาน ขึ้นกับลักษณะ เทคนิคและเทคโนโลยีของรถแต่ละรุ่น
  <br />
(3) หากพัฒนาระบบสถานีชาร์จไฟมีความจุแรงดันไฟฟ้าสูงเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อตัวรถ (4) หากไฟฟ้าบ้านไม่มีความเสถียร
  <br />
หรือไม่เพียงพอก็อาจส่งผลกระทบต่อแบตเตอรี่ได้ และ (5) ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนและออกทะเบียนเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า
  <br />

  <br />
<u>ข้อมูลอ้างอิง </u>
  <br />
https://www.peerpower.co.th/blog/investor/ev-and-investment/
  <br />
https://www.mem.gov.la/?page_id=195
  <br />
https://www.laophattananews.com/archives/118296 </div>

โอกาสการฟื้นฟูเศรษฐกิจของ สปป. ลาวจากภาคการท่องเที่ยว

สปป.ลาว เป็นพื้นที่ที่ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีวัฒนธรรมที่หลากหลายและน่าสนใจ ภาคบริการการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ สร้างโอกาสการจ้างงาน และส่งเสริมสาขาการบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ธุรกิจอาหาร โรงแรม สปา จัดประชุม การขายสินค้าท้องถิ่น การให้บริการรถเช่า ฯลฯ มีการขยายตัวควบคู่กันไป

โครงการท่าบกท่านาแล้ง และเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ กับการเปลี่ยนแปลง Landscape ของ สปป. ลาว ครั้งใหม่

สปป. ลาว เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่มีทางออกทะเล (Land-locked)
จึงส่งผลให้เกิดข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจหลายประการ อาทิ ต้นทุนด้านโลจิสติกส์สูง การนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคในประเทศและการส่งออกสินค้าจำเป็นต้องส่งสินค้าผ่านท่าเรือของประเทศที่สาม ด้วยข้อจำกัดข้างต้น          จึงไม่เอื้อต่อการดึงดูดนักลงทุนให้ขยายฐานการผลิตมาใน สปป. ลาว

การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนเพื่อการพัฒนา

เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2565 ดร. คำแพง ไซสมแพง รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว
เป็นประธานการประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเนื่องในโอกาสการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
ของ สปป. ลาว ครบรอบ 9 ปี ในหัวข้อความสำคัญของข้อริเริ่มเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน
เพื่อการพัฒนาในกรอบองค์การการค้าโลกต่อการฟื้นเศรษฐกิจในยุคโควิด-19 โดยมี ผู้แทนจากภาครัฐ
และภาคเอกชนเข้าร่วม

ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าของ สปป. ลาว

ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าของ สปป.ลาว ปี 2564-2573 ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 2 ของสภาแห่งชาติชุดที่ 9 ประกอบด้วยนโยบาย 10 ประการ ได้แก่ นโยบายด้านน้ำมันเชื้อเพลิง
และก๊าซ ถ่านหิน พลังงานทดแทน การพัฒนาแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า การพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้า การพัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้า ความมั่นคงด้านพลังงาน การพัฒนาตลาดพลังงาน ราคาไฟฟ้า และการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน

พิธีลงนามสัญญาว่าด้วยการทดลองดำเนินธุรกิจทรัพย์สินดิจิทัล

เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2565 นายแก้วนะคอน ไซสุเลียน หัวหน้ากรมเทคโนโลยีดิจิทัล กระทรวงเทคโนโลยี และการสื่อสาร สปป. ลาว และนางวิพากอน กอนสิน ประธานบริษัท ลาว วีไอพี พัฒนาการลงทุน จำกัด ร่วมลงนามสัญญาว่าด้วยการทดลองดำเนินธุรกิจทรัพย์สินดิจิทัล โดยมี ศ.ดร. บ่อเวียงคำ วงดารา รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีฯ พร้อมด้วยผู้แทนจากภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน


Pages: Prev. 1 2 3 4 5 ... 75 Next

หน่วยงานภาคเอกชน

Coming soon