หน่วยงานสำคัญในการติดต่อธุรกิจ

ทองคำ อัญมณีล้ำค่าแห่ง สปป. ลาว

สปป. ลาว เป็นประเทศที่มีแร่ธาตุ
และทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ จากลักษณะของ
ภูมิประเทศที่เกิดจากการยกตัวของแผ่นทวีปเก่าก่อให้เกิดภูเขาสลับกับที่ราบหุบเขา มีแหล่งแร่สำคัญ
เช่น เงิน ทองคำ ทองแดง นิกเกิล ตะกั่ว ถ่านหิน
บอกไซต์ ยิปซั่ม เหล็ก อัญมณี โปแตช สังกะสี
แมงกานีส หินปูน โดโลไมต์ และแบไรต์ ในพื้นที่กว่า 570 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 162,104 ตร.กม. คิดเป็น
ร้อยละ 68.49 ของพื้นที่ประเทศ ส่วนมากขุดพบในแขวงสะหวันนะเขต แขวงไซสมบูน แขวงอุดมไซ แขวงอัตตะปือ และแขวงเซกอง เป็นต้น

สินค้าเกษตร สินค้าส่งออกหลักของ สปป. ลาว

ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 ที่ผ่านมา สปป. ลาว
ขาดดุลการค้ากับต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน หากพิจารณาจากตัวเลขข้อมูล 3 เดือนล่าสุดพบว่า ในเดือน ส.ค. 2565 มีมูลค่าการค้ารวมประมาณ 1,020 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการส่งออก 427 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้า 593 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลการค้า 166 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน ก.ย. 2565 มีมูลค่าการค้าประมาณ 1,146 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการส่งออก 456 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้า 689 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลการค้า 233 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในเดือน ต.ค. 2565 มีมูลค่าการค้าประมาณ 1,074 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการส่งออก 422 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การนำเข้า 652 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุล การค้า 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกของสำคัญของ สปป.ลาว คือ แร่ธาตุ และสินค้าเกษตร อาทิ ทองคำผสมและทองคำแท่ง แร่ทอง แร่เหล็ก ยางพารา กล้วย ปุ๋ยน้ำตาล โคและกระบือ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า โดยประเทศเป้าหมายของสินค้าส่งออกของ สปป. ลาว ได้แก่ จีน เวียดนาม ไทย ออสเตรเลีย ฮ่องกง ฯลฯ

อุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราใน สปป. ลาว และแนวโน้มการเติบโตของตลาดยางพารา

เมื่อเดือน ส.ค. 2565 ศูนย์ BIC สถานเอกอัครราชทูต
ณ เวียงจันทน์ ได้จัดทำบทความเรื่อง “มันสำปะหลังและยางพารา
พืชเศรษฐกิจใหม่ของ สปป. ลาว” ซึ่งมีโอกาสเติบโตใน สปป. ลาว
ได้ด้วยดี บทความในฉบับนี้ จะขอเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรม
แปรรูปยางพาราใน สปป. ลาว และแนวโน้มการเติบโตของตลาดยางพาราเพิ่มเติม เพื่อเจาะลึกถึงบทบาทอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราและโอกาสการเติบโตในระยะต่อไป
รัฐบาล สปป. ลาวให้ความสำคัญกับการผลิตเกษตรให้เป็นสินค้าตามเขตเพื่อลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศ จึงกำหนดให้ยางพาราเป็นหนึ่งในพืชที่มีความสำคัญลำดับต้นของชาติไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนากสิกรรมจนถึงปี 2568 และวิสัยทัศน์จนถึงปี 2573 เพื่อให้สามารถแข่งขัน และเป็นสินค้าส่งออกโดยเฉพาะยางพาราดิบและยางพาราก้อนอัดไฮดรอลิค  

พัฒนาการระบบ National Single Window (LNSW) ของ สปป. ลาว

ฐบาล สปป. ลาวกำหนดให้ความร่วมมือ
ด้านการเชื่อมโยงการค้า และการลงทุนกับภูมิภาคและนานาชาติ เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2564-2568)
โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการลดอุปสรรคทางการค้า                การลงทุน และตั้งเป้าหมายส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วยการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของ สปป. ลาว อย่างยั่งยืนต่อไป

รถไฟลาว-จีน การคมนาคมที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจลาว

สปป. ลาว ได้ร่วมมือกับจีนเพื่อพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงทางรางเพื่อขนส่งสินค้า รวมถึงขนส่งผู้โดยสารตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้าและเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางรถไฟ ตลอดจนยกระดับรูปแบบของการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์            ในสปป. ลาว ให้มีทางเลือกมากขึ้น ซึ่งการเปิดให้บริการของรถไฟลาว-จีน เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ สปป. ลาว เป็นข้อต่อที่สำคัญของภูมิภาค ส่งเสริมการเชื่อมโยง
สปป.ลาวเข้าสู่กับห่วงโซ่การค้าผ่านระบบขนส่งแบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย ด้วยการปรับนโยบายให้มีความเหมาะสม รวดเร็ว มีคุณภาพและต้นทุนที่ถูกลง ขนส่งได้ปริมาณมากและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นับตั้งเปิดให้บริการรถไฟลาว-จีน อย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2564 จนถึงเดือนตุลาคม 2565
ในระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา รถไฟลาว-จีนได้ให้การบริการขนส่งสินค้าจำนวน 8,510,000 ตัน เป็นการขนส่ง
สินค้าระหว่างประเทศกว่า 1,540,000 ตัน แบ่งเป็นสินค้านำเข้ามา สปป. ลาว จำนวนประมาณ 280,000 ตัน และสินค้าที่ สปป. ลาว ส่งออกไปจีนประมาณ 948,000 ตัน การบริการขนส่งเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.8 ในแต่ละเดือน

พัฒนาการอุตสาหกรรมตัดเย็บของ สปป. ลาว

อุตสาหกรรมตัดเย็บเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญที่รัฐบาล สปป.ลาว ให้การส่งเสริมเพื่อลดการพึ่งพาและสร้างรายได้
จากทรัพยากรธรรมชาติไปสู่ การผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมเบา (Light Industry) เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย
สร้างงาน ให้แก่ประชาชน ลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และสามารถสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศอีกด้วย

ในปี 2564 ภาคอุตสาหกรรม สปป. ลาวมีอัตราการขยายตัวคิดเป็นร้อยละ 34 ของ GDP (ขยายตัวลดลงร้อยละ 2.65 เมื่อเทียบ
กับปีที่ผ่านมา) โดยอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและเครื่องหนัง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.10 ของภาคอุตสาหกรรม
ทั้งหมด และอยู่ในอันดับที่ 7 รองจากอุตสาหกรรมพลังงาน ก่อสร้าง การแปรรูปอื่น ๆ เหมืองแร่และการขุดค้น การแปรรูปอาหาร
และเครื่องดื่มและบุหรี่ ตามลำดับ

สปป. ลาวก่อตั้งโรงงานตัดเย็บเครื่องนุ่งห่มแห่งแรกในปี 2527 ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 77 แห่ง ตั้งอยู่ใน นครหลวงเวียงจันทน์ 72 แห่ง
แขวงเวียงจันทน์ 1 แห่ง แขวงจำปาสัก 2 แห่ง และแขวงสะหวันนะเขต 2 แห่ง แบ่งออกเป็นโรงงานที่ผลิตเครื่องนุ่งห่มเพื่อส่งออก
เป็นหลักจำนวน 50 แห่ง และโรงงานที่ผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศ 27 แห่ง สร้างงานได้ 25,000 ตำแหน่ง สินค้าที่ผลิตส่วนใหญ่
ได้แก่ เครื่องแบบ เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต เสื้อโปโล เสื้อทำงานแจ๊คเก็ต ยีนส์ ชุดชั้นใน ชุดเครื่องนอน ถุงเท้า รองเท้าและอื่น ๆ
ตลาดส่งออกที่สำคัญของ สปป. ลาว ได้แก่ ยุโรปร้อยละ 80 ญี่ปุ่น ร้อยละ 9 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 4 และแคนาดา ร้อยละ 2

ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ผู้ประกอบการบางส่วนหยุดการผลิต และบางส่วนลดกำลังการผลิตชั่วคราวเพื่อปฏิบัติตาม
มาตรการป้องการการแพร่ระบาดของรัฐบาล สปป. ลาว อีกทั้งอุตสาหกรรมตัดเย็บของ สปป.ลาว ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
กับอุตสาหกรรมตัดเย็บทั่วโลก กล่าวคือ หลายบริษัทประสบปัญหาถูกยกเลิกคำสั่งซื้อจากบริษัทที่เป็นเจ้าของเครื่องหมาย
สินค้าต่าง ๆ การชะลอการผลิตวัสดุ อุปกรณ์ด้านการตัดเย็บจากผู้ผลิตในต่างประเทศอันเนื่องมาจากการ lockdown
ในหลายเมือง และปัญหาความล่าช้าในการจัดส่งและมอบสินค้า

ในปี 2563 การส่งออกเครื่องนุ่งห่มของ สปป. ลาวมีมูลค่า 188 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 11.32 เมื่อเทียบกับปี 2562
ส่วนในปี 2564 มูลค่าการส่งออกเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นเป็น 189 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในช่วงเดือน ม.ค. - มิ.ย. 2565 การส่งออก
เครื่องนุ่งห่มมีมูลค่า 99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากนโยบายผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19 โรงงานตัดเย็บหลายแห่ง
เริ่มเปิดดำเนินการผลิตตามปกติ และอยู่ระหว่างการฟื้นตัวจากผลกระทบ สำหรับการนำเข้าสินค้าเครื่องนุ่งห่ม ช่วงเดือน
ม.ค. - มิ.ย. 2565 สปป. ลาวนำเข้าเครื่องนุ่งห่มประมาณ 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนำเข้าจากจีนมากที่สุดมูลค่า 8.04 ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือเวียดนาม 2.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทย 2.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การพัฒนาอุตสาหกรรมตัดเย็บใน สปป. ลาว เผชิญกับข้อจำกัดหลายด้าน อาทิ จำนวนแรงงานที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม
การผลิตของ สปป. ลาวมีน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลให้สัดส่วนแรงงานในภาคการผลิต
เครื่องนุ่งห่มขาดแคลน แม้ว่า สปป. ลาวจะมีข้อได้เปรียบด้านอัตราค่าจ้างแรงานที่มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
แต่ศักยภาพในการผลิตยังมีน้อย แรงงานเลือกจะทำงานในอุตสาหกรรมอื่นที่มีค่าตอบแทนสูงกว่า รวมถึงแรงงานลาวส่วนหนึ่ง
ย้ายไปทำงานต่างประเทศ สำหรับนักลงทุน ผู้ประกอบการระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กยังประสบปัญหาในการเข้าถึง
แหล่งเงินทุน และปัญหาเงินกีบอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์และบาท ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบนำเข้าสำหรับการผลิต
เครื่องนุ่งห่มสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต

เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมตัดเย็บใน สปป.ลาว สมาคมอุตสาหกรรมตัดเย็บ สปป. ลาวผลักดันนโยบาย
ส่งเสริมให้โรงงานตัดเย็บทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่สามารถดำเนินการได้มากขึ้น โดยส่งเสริมให้หนึ่งกลุ่มบ้าน มีหนึ่ง
ร้านตัดเย็บเพื่อสร้างรายรับให้ผู้ประกอบรายย่อย และทำให้ประชาชนได้ใช้สินค้าที่ผลิตภายในชุมชน ประชาสัมพันธ์เชิญชวน
ให้สนับสนุนและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ลาวที่ผลิตภายในประเทศเพื่อลดการรั่วไหลของเงินตราต่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้
รัฐบาล สปป.ลาว ยังได้ปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการในวิสาหกิจขนาดกลางและเล็กสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้
จากสถาบันการเงินได้สะดวกยิ่งขึ้น

ข้อมูลอ้างอิง
https://eriit.moic.gov.la/researcheriitlao/
https://www.moic.gov.la/?page_id=6994
https://laoedaily.com.la/2022/10/03/117658/ file:///I:/downloads/Yearbook2021_Final%2022.04.2022%20(1).pdf

กาแฟลาว สินค้าการเกษตรยอดนิยมในการส่งออกของ สปป. ลาว

กาแฟ นับเป็นสินค้าส่งออกที่สามารถสร้างรายได้
เข้า สปป.ลาวจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี สมาคมกาแฟลาว (Lao Coffee Association: LCA) ระบุว่า การส่งออกกาแฟ ระหว่างเดือน ม.ค. - มิ.ย. 2565 ปริมาณ 14,559 ตัน คิดเป็นมูลค่า
41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียมูลค่า 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออกไปยังตลาดยุโรปมูลค่า 7.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
กาแฟที่ผลิตใน สปป. ลาวส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นและชื้นเหมาะสำหรับ
การปลูกกาแฟ นอกจากนี้ การปลูกกาแฟทางตอนเหนือของ สปป. ลาวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากนักวิจัยด้านการเกษตรพบว่า มีภูเขาที่มีความเหมาะสมในการปลูกกาแฟ จึงได้ส่งเสริมการปลูกกาแฟทดแทนการปลูกฝิ่น

การส่งเสริมเลี้ยงโคและกระบือในสปป. ลาวเพื่อส่งออกไปจีน

สปป. ลาวกำหนดให้การผลิตสินค้าเกษตรเป็นแผนงานที่มีความสำคัญลำดับต้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยกำหนดเป้าหมายในการสร้างรายได้
และปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนท้องถิ่นให้หลุดพ้น
จากความยากจนและออกจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ภายในปี 2567 เพื่อเป็นประเทศที่พัฒนาอย่างยั่งยืนภายในปี 2573 โดยรัฐบาล สปป. ลาวส่งเสริมให้เกษตรกรทั่วประเทศเลี้ยงโคและกระบือเพื่อส่งออกไปจีน

ทำความรู้จักบ่อเต็นพื้นที่ด่านหน้าสำคัญของสปป. ลาว

สปป. ลาว เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอาณาเขตชายแดนติดกับ 5 ประเทศ แบ่งการปกครองออกเป็น 17 แขวง 1 นครหลวงเวียงจันทน์ ดำเนินนโยบายเน้นเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กำหนดให้แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใช้ศักยภาพและโอกาสเชิงพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือ และความเชื่อมโยงกับประเทศในและนอกภูมิภาคเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2564 - 2568)
พื้นที่บ่อเต็นถือเป็นพื้นที่เชื่อมโยงทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การบริการและอื่น ๆ ของ สปป. ลาว โดยบ่อเต็น
เป็นชื่อเรียกของหมู่บ้านในเขตเมืองหลวงน้ำทา แขวงหลวงน้ำทา ตั้งอยู่ใกล้เขตชายแดนลาว-จีน ตรงข้าม
กับเมืองโม่ฮาน เขตสิบสองปันนาของจีน มีเส้นทาง R3A เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าหลักระหว่างไทย-
สปป. ลาว-จีน ปัจจุบันเส้นทางนี้บางช่วงเริ่มชำรุด และช่วงฤดูฝนการสัญจรไปมายากลำบากเนื่องจากเป็นถนน
2 เลน และคดเคี้ยวตามภูเขา
นอกจากนี้ บ่อเต็นยังเป็นที่ตั้งด่านภาษีสากลบ่อเต็น ซึ่งมีความสำคัญในฐานะด่านที่ตั้งอยู่สถานีแรกของเส้นทางรถไฟลาว-จีน และเป็นจุดสำคัญในการเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งสินค้า ภายในด่านมีเครื่องมือที่ทันสมัย อาทิ ระบบแจ้งภาษีอัตโนมัติ และระบบ Smart Tax เครื่องตรวจด้วยระบบแสง ระบบ Easy Pass และอื่น ๆ เพื่อ
อำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าเพิ่มเติม ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค. 2565 มีการขนส่งสินค้าของไทยไปจีนผ่านด่านภาษีสากลบ่อเต็นทางรถบรรทุก จำนวน 21,538 ตู้ คิดเป็นมูลค่า 884.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการขนส่งสินค้าไทยโดยใช้รถไฟลาว-จีน จากสถานีเวียงจันทน์ใต้ไปยังสถานีนาเตย หลังจากนั้น ขนส่งต่อด้วยรถบรรทุกมายังด่านภาษีสากลบ่อเต็นเพื่อส่งออกไปจีน จำนวน 503 ตู้ คิดเป็นมูลค่า 38.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    เมื่อปี  2546 รัฐบาล สปป. ลาวให้สัมปทานพื้นที่บ่อเต็นแก่บริษัท ฟุกฮิง ทราเวล จากฮ่องกงเพื่อก่อตั้ง
เขตเศรษฐกิจเฉพาะบ่อเต็นแดนคำ ประกอบด้วย พื้นที่โรงงาน สำนักงาน ร้านค้าปลอดภาษี และอื่นๆ ต่อมาเมื่อปี 2555 เปลี่ยนผู้ถือสัมปทานเป็นกลุ่มบริษัท ไห่เฉิงยูนนาน และเปลี่ยนชื่อเป็น “เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นแดนงาม” ประกอบด้วย 4 เขต ได้แก่ เขตการค้าและการเงิน
เขตท่องเที่ยวและพักผ่อน เขตอุตสาหกรรมแปรรูป
การขนส่งและโลจิสติกส์ และเขตการศึกษาและการแพทย์
ในขณะเดียวกัน สปป.ลาว-จีน เห็นถึงโอกาสการพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งทางบกในภูมิภาคจีน-อาเซียน
จึงร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงระหว่างบ่อเต็นกับพื้นที่อื่นๆ อาทิ (1) โครงการทางด่วน
นครหลวงเวียงจันทน์-ด่านภาษีสากลบ่อเต็น ระยะทาง 460 กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยยกระดับโครงข่ายเส้นทางทางบกไปยังประเทศจีน ลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้าขึ้นไปทางเหนือ ปัจจุบัน เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการช่วงแรก (นครหลวงเวียงจันทน์ - วังเวียง) เมื่อปี 2563 โดยสร้างเป็นทางคู่ขนานกับถนนหมายเลข 13 เหนือและทางรถไฟลาว - จีน มี 4 ช่องจราจร และอยู่ระหว่างการสำรวจเส้นทางเพื่อก่อสร้างช่วงที่ 4 (อุดมไซ – หลวงน้ำทา) ช่วงที่ 3 (หลวงพระบาง – อุดมไซ) และช่วงที่ 2 (วังเวียง – หลวงพระบาง) ตามลำดับ

ยุทธศาสตร์การดึงดูดการลงทุนของลาว กับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างต่อเนื่อง

สปป. ลาว เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ พิเศษ เพื่อก้าวส่งเสริมบทบาทในการเป็นฐานการลงทุนโดยเฉพาะจากนักลงทุนอาเซียน โดยมีเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะจำนวนทั้งสิ้น 12 แห่ง ที่มีการอนุมัติและดำเนินการแล้ว ประกอบด้วย (1) เขตเศรษฐกิจสะหวัน-เซโน (2) เขตเศรษฐกิจเฉพาะบ่อเต็นแดนงาม (3) เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมทองคำ (4) นิคมอุตสาหกรรมและการค้าเวียงจันทน์ (5) เขตเศรษฐกิจพิเศษไชเสดถา (6) เขตเศรษฐกิจเฉพาะท่าแขก (7) เขตเศรษฐกิจพิเศษล่องแทง-เวียงจันทน์ (8) เขตเศรษฐกิจพิเศษดงโพสี (9) เขตเศรษฐกิจเฉพาะบึงธาตุหลวง (10) เขตเศรษฐกิจเฉพาะภูเขียว (11) เขตเศรษฐกิจพิเศษปากเซ-ญี่ปุ่น และ (12) เขตเศรษฐกิจพิเศษหลวงพระบาง


Pages: Prev. 1 2 3 4 5 ... 75 Next

หน่วยงานภาคเอกชน

Coming soon